เมนู

ชื่อว่า ยมกะ เพราะทำกองไฟและท่อธารแห่งน้ำเป็นต้น ให้
เป็นไปในคราวเดียวกันไม่ก่อนไม่หลังทีเดียว, ชื่อว่า ปาฏิหีระ เพราะ
กำจัดเสียซึ่งปฏิปักขธรรมทั้งหลาย มีความไม่เชื้อเป็นต้น, ยมกะนั้น
ด้วยปาฏิหีระด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า ยมกปาฏิหีระ.

71. อรรถกถามหากรุณาสมาปัตติญาณุทเทส


ว่าด้วย มหากรุณาสมาปัตติญาณ


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า มหากรุณาสมาปตฺติยา ญาณํ - ญาณ
ในมหากรุณาสมาบัติ
นี้ ดังต่อไปนี้
ธรรมชาติใด ครั้นเมื่อทุกข์ของผู้อื่นมีอยู่ ย่อมทำความหวั่น
ใจ แก่สาธุชนทั้งหลาย หรือว่าย่อมซื้อ คือย่อมเบียดเบียนทำลาย
ทุกข์ของผู้อื่น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า กรุณา, อีกอย่างหนึ่ง
ธรรมชาติใดย่อมเรี่ยไร คือย่อมแผ่ไปด้วยอำนาจการแผ่ไปในเหล่าทุก-
ขิตสัตว์ - สัตว์ผู้มีทุกข์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า กรุณา, กรุณา
ใหญ่ ชื่อว่า มหากรุณา ด้วยอำนาจกรรมคือการแผ่ไปและด้วยอำนาจ
กรรมอันเป็นคุณ, พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระมหากรุณา ย่อมเข้าสู่
สมาบัตินี้ได้ ฉะนั้นจึงชื่อว่า สมาปัตติ - สมาบัติ, พระมหากรุณานั้น

ด้วยเป็นสมาบัติด้วย ฉะนั้นจึงชื่อว่า มหากรุณาสมาบัติ. ในมหากรุณา
สมาบัตินั้น, ญาณอันสัมปยุตกับด้วยมหากรุณาสมาบัตินั้น.

72 - 73. อรรถกถาสัพพัญญุตญาณอนาวรณญาณุทเทส


ว่าด้วย สัพพัญญุตญาณอนาวรณญาณ


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สพฺพญฺญุตญาณํ อนาวรณญาณํ-
ญาณเป็นเครื่องรู้ธรรมทั้งปวง ญาณอันไม่มีอะไรติดขัด
นี้ ดังต่อ
ไปนี้
พระพุทธะพระองค์ใด ทรงรู้ธรรมทั้งปวงมีประเภทแห่งคลอง
อันจะพึงแนะนำ 5 ประการ ฉะนั้น พระพุทธะพระองค์นั้น ชื่อว่า
สัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวง, ความเป็นแห่งพระสัพพัญญู ชื่อว่า
สัพพัญญุตา, ญาณคือพระสัพพัญญุตาญาณนั้น ควรกล่าวว่า สัพพัญญุ-
ตาญาณ
ท่านก็กล่าวเสียว่า สัพพัญญุตญาณ. จริงอยู่ ธรรมทั้งปวง
ต่างโดยเป็นสังขตธรรมเป็นต้น เป็นครรลองธรรมที่จะพึงแนะนำมี
5 อย่าง1เท่านั้น คือ สังขาร 1, วิการ 1, ลักขณะ 1. นิพพาน 1
และ บัญญัติ 1.
1. ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา เรียกธรรม 5 มีสังขารเป็นต้น นี้ว่า ไญยธรรม.